วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 19 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
    ในคาบเรียนวันนี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาที่เรียน อาจารย์ได้ มี กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต มาให้นักศึกษาเล่นเพื่อเป็นการผ่อนคลาย และเกิดความสนุกสนานก่อนเข้าสู่การเรียน

ในวันนี้เรียนเนื้อหาเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้รับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดี

กิจกรรมการเล่น การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญ เด็กจะสนใจกันโดยมีการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นสิ่งที่น่าสำรวจ 
 
ยุทธศาสตร์การสอน ครุจะเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ บอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไร จดบันทึก และทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง วางแผนการเล่นไว้หลายๆอย่าง คำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน และให้เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น คอยเฝ้ามองอยู่ใกล้ๆไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป ไม่เข้าพูดคุยตัดสินผลงานเด็กขณะเด็กกำลังทำกิจกรรม เอาวัสดุมาให้เพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่น ควรให้อุปกรณ์น้อยกว่าจำนวนเด็กในกลุ่ม เช่น มีเด็ก 5 คน ควรให้ของเล่นเด็กอย่างละ 2 ชิ้น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องทักษะทางสังคมจากการเล่น ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม กรณีที่เด็กไม่ยอมให้อุปกรณ์เพื่อนเล่น ครูควรทำใหการเล่นเป็นเหมือนการเล่นเกม เช่น ให้ตักทราย 10 ครั้ง แล้วส่งอุปรณ์ต่อให้เพื่อนเล่นบ้าง

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น โดยการชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน กรณีเด็กดาวน์ซินโดรมและเด็กออทิสติก หากครูจะชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อนและเพื่อนในกลุ่มเกิดการยอมรับน้องดาวน์ หรือน้องออ ควรให้น้องนำของเล่นเข้าไปเล่นกับเพื่อนด้วย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับน้อง และครูควรเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ก่อน

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์ ให้โอกาสเด็กพิเศษ ได้เรียนรู้สิทธิต่างๆ เหมือนเพื่อนในห้องและครูไม่ใช่ความบกพร่องเป็นเครื่องต่อรอง




หลังจากที่เรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้แจกเนื้อเพลง แล้วให้ทุกคนร้องเพลงร่วมกัน

                                                                     

เนื้อเพลง

เพลง ดวงอาทิตย์
   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน


เพลง ดวงจันทร์
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลงดอกมะลิ
                      ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ


เพลง กุหลาบ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน


เพลง นกเขาขัน
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู


เพลง รำวงดอกมะลิ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่ใจ จริงเอย


      แล้วกิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ กิจกรรมมีชื่อว่า "กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ" โดยอาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วให้เลือกว่าใครจะเป็นเด็กปกติและเด็กพิเศษ จากนั้นให้ออกไปหยิบสีเทียนมา คนละ 1 แท่ง แล้วให้คนหนึ่งวาดเส้น และอีกคนวาดจุด โดยจะวาดไปตามจังหวะทำนองเพลงที่อาจารย์เปิดจนจบเพลง ในระหว่างที่วาดนั้นห้ามยกสีขึ้นเด็ดขาด ให้วาดเส้นไปอย่างต่อเนื่อง และคนที่เขียนจุดให้เขียนตามรอยเส้นที่ตัดเป็นวงกลม
หลังจากที่วาดเส้นและลงจุดเสร็จอาจารย์ให้แต่ละคู่ดูเส้นของตนเอง แล้วจินตนาการให้เห็นว่าเป็นภาพอะไร แล้วระบายสีทับบนภาพที่เราเห็น จากนั้นให้นำผลงานออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งคู่ของดิฉันวาดออกมาเป็นภาพ ปลาปิรันย่า ปลาดาว ปลาหมึก ปู และม้า 


ผลงานของคู่ดิฉัน


    


ผลงานรวมของทุกคน



การนำไปประยุกต์ใช้

      สามารถนำหลักการส่งเสริมทักษะด้านสังคมของเด็กพิเศษไปปรับใช้ในอนาคต และสามารถนำเทคนิคการทำศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษมาใช้กับเด็กได้ และสามารถนำเอาเพลงที่ฝึกร้องไปใช้สอนเด็กได้

การประเมิน
ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกตามอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
เพื่อน : ตั้งใจเรียน มีคุยบ้าง จดบันทึกตาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
อาจารย์ : มีกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายก็เริ่มเนื้อหา อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ และมีกิจกรรมหลังเรียนเพื่อให้เราไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้ และมีความสนุกสนานเฮฮาทุกครั้งที่ได้เรียนกับครูเบียร์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น