วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 19 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
    ในคาบเรียนวันนี้ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาที่เรียน อาจารย์ได้ มี กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต มาให้นักศึกษาเล่นเพื่อเป็นการผ่อนคลาย และเกิดความสนุกสนานก่อนเข้าสู่การเรียน

ในวันนี้เรียนเนื้อหาเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้รับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดี

กิจกรรมการเล่น การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญ เด็กจะสนใจกันโดยมีการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นสิ่งที่น่าสำรวจ 
 
ยุทธศาสตร์การสอน ครุจะเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ บอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไร จดบันทึก และทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง วางแผนการเล่นไว้หลายๆอย่าง คำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน และให้เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น คอยเฝ้ามองอยู่ใกล้ๆไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป ไม่เข้าพูดคุยตัดสินผลงานเด็กขณะเด็กกำลังทำกิจกรรม เอาวัสดุมาให้เพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่น ควรให้อุปกรณ์น้อยกว่าจำนวนเด็กในกลุ่ม เช่น มีเด็ก 5 คน ควรให้ของเล่นเด็กอย่างละ 2 ชิ้น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องทักษะทางสังคมจากการเล่น ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม กรณีที่เด็กไม่ยอมให้อุปกรณ์เพื่อนเล่น ครูควรทำใหการเล่นเป็นเหมือนการเล่นเกม เช่น ให้ตักทราย 10 ครั้ง แล้วส่งอุปรณ์ต่อให้เพื่อนเล่นบ้าง

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น โดยการชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน กรณีเด็กดาวน์ซินโดรมและเด็กออทิสติก หากครูจะชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อนและเพื่อนในกลุ่มเกิดการยอมรับน้องดาวน์ หรือน้องออ ควรให้น้องนำของเล่นเข้าไปเล่นกับเพื่อนด้วย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับน้อง และครูควรเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ก่อน

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์ ให้โอกาสเด็กพิเศษ ได้เรียนรู้สิทธิต่างๆ เหมือนเพื่อนในห้องและครูไม่ใช่ความบกพร่องเป็นเครื่องต่อรอง




หลังจากที่เรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้แจกเนื้อเพลง แล้วให้ทุกคนร้องเพลงร่วมกัน

                                                                     

เนื้อเพลง

เพลง ดวงอาทิตย์
   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน


เพลง ดวงจันทร์
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลงดอกมะลิ
                      ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ


เพลง กุหลาบ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน


เพลง นกเขาขัน
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู


เพลง รำวงดอกมะลิ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่ใจ จริงเอย


      แล้วกิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ กิจกรรมมีชื่อว่า "กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ" โดยอาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วให้เลือกว่าใครจะเป็นเด็กปกติและเด็กพิเศษ จากนั้นให้ออกไปหยิบสีเทียนมา คนละ 1 แท่ง แล้วให้คนหนึ่งวาดเส้น และอีกคนวาดจุด โดยจะวาดไปตามจังหวะทำนองเพลงที่อาจารย์เปิดจนจบเพลง ในระหว่างที่วาดนั้นห้ามยกสีขึ้นเด็ดขาด ให้วาดเส้นไปอย่างต่อเนื่อง และคนที่เขียนจุดให้เขียนตามรอยเส้นที่ตัดเป็นวงกลม
หลังจากที่วาดเส้นและลงจุดเสร็จอาจารย์ให้แต่ละคู่ดูเส้นของตนเอง แล้วจินตนาการให้เห็นว่าเป็นภาพอะไร แล้วระบายสีทับบนภาพที่เราเห็น จากนั้นให้นำผลงานออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งคู่ของดิฉันวาดออกมาเป็นภาพ ปลาปิรันย่า ปลาดาว ปลาหมึก ปู และม้า 


ผลงานของคู่ดิฉัน


    


ผลงานรวมของทุกคน



การนำไปประยุกต์ใช้

      สามารถนำหลักการส่งเสริมทักษะด้านสังคมของเด็กพิเศษไปปรับใช้ในอนาคต และสามารถนำเทคนิคการทำศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษมาใช้กับเด็กได้ และสามารถนำเอาเพลงที่ฝึกร้องไปใช้สอนเด็กได้

การประเมิน
ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกตามอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
เพื่อน : ตั้งใจเรียน มีคุยบ้าง จดบันทึกตาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
อาจารย์ : มีกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายก็เริ่มเนื้อหา อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ และมีกิจกรรมหลังเรียนเพื่อให้เราไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้ และมีความสนุกสนานเฮฮาทุกครั้งที่ได้เรียนกับครูเบียร์






บันทึกอนุทินครั้งที่5


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



ในวันนี้ ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากมีการจัด Surprise วันเกิดอาจารย์เบียร์




















บันทึกอนุทินครั้งที่4


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 5 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


กิจกรรมวันนี้
ในคาบเรียนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพดอกไม้ ที่กำหนดให้ โดยวาดให้เหมือนที่สุด
ซึ่งภาพที่ดอกไม้ที่อาจารย์เลือกมาให้วาดนั้น คือรูปดอกลิลลี่





ดอกลินลี่ของฉัน



พอวาดเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาบรรยายความรู้สึก จากดอกลิลลี่ เพื่อจะได้ดูว่าทุกคนจะมีหลักการสังเกตอย่างไรบ้าง พอนักศึกษาบรรยายเสร็จอาจารย์ก็ได้บอกว่า "หลักการสังเกตและบันทึกนั้นเราควรจะบันทึกและสังเกตตามความเป็นจริง ตามภาพที่เราเห็น



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
ในวันนี้เรียนในหัวข้อเรื่อง "บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม"
สิ่งที่ครูไม่ควรทำ
1.ครูไม่ควรวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง เพราะอาจจะนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก เพราะจะเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กอาจจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ เพราะพ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครุมาตอกย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา และครูควรชมก่อนบอกสิ่งที่น้องทำแล้วค่อยแทรกในสิ่งที่ทำไม่ได้ภายหลัง


สิ่งที่ครูควรทำ
1.สังเกตอย่างมีระบบ เพราะไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู เนื่องจากครูจะเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆในช่วงเวลายาวนานกว่า ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
2.การตรวจสอบ ครูจะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เพื่อจะเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น และสามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
3.การบันทึกการสังเกต จะมี 3 ประเภท คือ
- การนับอย่างง่ายๆ คือการนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม ว่าระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม นั้นเด็กมีพฤติกรรมการกระทำในกี่ครั้งต่อวัน และกี่ครั้งต่อชั่วโมง
- การบันทึกต่อเนื่อง คือ การให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ การบันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง




พอเรียนเนื้อหาเสร็จ อาจารย์ก็มีเพลงมาให้ร่วมกันฝึกร้อง โดยวันนี้ร้องเพลง "ฝึกกายบริหาร"

เนื้อเพลง

เพลง ฝึกกายบริหาร
                         ผู้แต่งอ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำหลักและบทบาทการเป็นครูที่ดีที่ได้เรียนนี้ไปปรับใช้ในการเป็นครูในอนาคตได้ และสามารถเป็นหลักในการพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้


การประเมิน
ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน และจดบันทึกตามที่อาจารย์สอน พยายามพูดตอบคำถามของอาจารย์
เพื่อน : ตั้งใจวาดภาพดอกไม้ และตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมีคุยกันบ้างเป็นครั้งๆ
อาจารย์ : สอนสนุก อธิบายเนื้อหาอย่างได้เข้าใจ ยกตัวอย่างเนื้อหาให้เข้าใจมายิ่งขึ้น และเฮฮาทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่น่าเบื่อ


บันทึกอนุทินครั้งที่3



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน 
วันพฤหัสบดีที่ 29 เดือนมกราคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น



ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ไปสัมนาวิชาการ

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึก อนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 22 เดือนมกราคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
      ในคาบเรียนวันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กพิเศษ
การศึกษาแบบเรียนร่วม หมายถึง การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้เวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน และครูปฐมวัย ครูการศึกษาพิเศษต้องร่วมมือกัน ซึ่งการเรียนรวมนั้น จะแบ่งออกได้ดังนี้

1.การเรียนร่วมบางเวลา (Intergration) คือ การจัดการให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา เด็กพิเศษนั้นได้มีโอกาสแสดงออก มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ และเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
2.การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreming) คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียนเด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ


การศึกษาแบบเรียนรวม (Eclusive Education) หมายถึง การศึกษาสำหรับทุกคน ในการรับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีการบิการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด้กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของเขา การเรียนรวม เป็นแนวคิดการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแย่งว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติหรือคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จ อาจารย์ก็ได้ฝึกสอนร้องเพลงที่เหลือจากสัปดาห์ที่แล้ว


บรรยากาศภายในห้องเรียน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาปรับใช้ได้ ในอนาคตหากต้องได้สอนและอยู่ร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


การประเมิน
ตนเอง :แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
เพื่อน : ทุกคนก็ตั้งใจเรียน จดบันทึกตาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม แต่ในวันนี้เป็นการเรียนรวม 2 เซค ทำให้เมื่ออาจารย์สอน มีการพูดคุยกันเสียงดังบ้าง
อาจารย์ : สอนเนื้อหาได้อย่างเข้าใจชัดเจน สนุกสนาน ไม่ทำให้นักศึกษาเบื่อเวลาเรียน











บันทึกอนุทินครั้งที่1

อนุบันทึกทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ผู้สอน อาจาย์ตฤณ แจ่มถิน 
วันพฤหัสบดี ที่ 15 เดือนมกราคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.







ความรู้ที่ได้รับ
ในคาบเรียนวันนี้ อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ในการพารุ่นพี่ปี 4 ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดบุรีรัมย์
แล้วได้ทบทวน และเฉลยข้อสอบของวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้เดิม แล้วท้ายคาบ อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันทำกิจกรรมร้องเพลงร่วมกัน โดยในวันนี้อาจารย์ให้ ร้องเพลง ด้วย1เพลง






เพลง ที่ร้องในวันนี้

เพลงนม

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ

นมเป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง








 สิ่งที่นำไปพัฒนา 
      ได้ทบทวนเนื้อหาความรู้เดิมของวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสามารถนำความรู้นั้นไปต่อยอดได้ และยังทำให้เรานั้นยังคิดได้ว่า ความรู้ที่เราได้เรียนมาทั้งหมดนั้น เราควรจะเก็บเนื้อหาวิชา และควรกลับไปอ่านทำความเข้าใจ เพราะความรู้ที่เราได้เรียนมานั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเราในอนาคตได้และได้ร้องเพลงให้ถูกทำนอง และจังหวะให้ดียิ่งขึ้นด้วย



การประมิน
ตนเอง:ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์บรรยายในเรื่องต่างๆ แต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน
เพื่อน:ไม่คุยกันเสียงดังแต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันร้องเพลงอย่างสนุกสนาน
อาจารย์:เล่าป ระสบการณ์ไปเข้าค่าย สอนร้องเพลงให้เข้าจังหวะอย่างสนุกสนานไม่น่าเบื่อเลย