วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่13



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือนเมษายน พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
เรื่องที่เรียนในวันนี้ โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

แผน IEP คือ แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็กแต่ละคน ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล ซึ่งมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และอาจมีหมอหรือผู้ช่วยสอนร่วมด้วย

การเขียนแผน IEP เป็นแผนของเด็ก 1 คน ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นเป็นอย่างดี รู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร รู้นิสัย จุดเด่น จุดด้อย สภาพครอบครัว ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลหรือไม่ รู้ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้ และไม่สามารถทำอะไรได้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ คอยสังเกตและบันทึกผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- เด็กจำเป็นต้องได้รับการบริการพิเศษอะไรบ้าง
- ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก เด็กได้รู้ความสามารถของตนเอง มีโอกาสได้พัฒนาตามศักยภาพของตนเอง ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

ประโยชน์ต่อครู เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก สามารถเลือสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการของเด็กเปลี่ยนแปลงไป เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก สามารถตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ รู้ว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ฏ มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
             1. การรวบรวมข้อมูล ทางการแพทย์ ทางการประเมินด้านต่าง ๆ และจากการบันทึกของผู้ปครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

             2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
             จุดมุ่งหมายระยะยาว ต้องกำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น น้องช่วยเหลือตนเองได้
             จุดมุ่งหมายระยะสั้น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก ให้เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ กำหนดให้แคบลง และเป็นเชิงพฤติกรรมเท่านั้น กำหนดขึ้นเพื่อสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และพฤติกรรมนั้นต้องดีแค่ไหน
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- ได้รับการรับรองแผนการศึกษารายบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

            3. การใช้แผน ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้ นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แยกย่อยขั้นตอนในการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการสอน มรการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก

           4. การประเมินผล โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน เกณฑ์การวัดผล ซึ่งการประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

           เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนการเขียนแผน IEP และให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทดลองช่วยกันเขียน IEP กลุ่มละ 1 แผน


บรรยากาศภายในห้องเรียน




การจัดทำแผน IEP






  ท้ายคาบอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อช่วยกันเขียนแผน IEP


กลุ่มของดิฉัน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาหลักการเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP ไปใช้สำหรับการเขียนแผนเพื่อเด็กพิเศษเป็นรายบุคคลในอนาคตได้ รู้ว่าควรจะต้องเขียนแผนไปในลักษณะใด และควรแก้ไขพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเฉพาะด้านอย่างไร

การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกเพิ่มเติมตามอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างดี เมื่อสงสัยต้องส่วนใดก็ถามอาจารย์ คุยกันเสียงดังบ้าง แต่ก็ตั้งใจเรียนดี
อาจารย์ : มีเกมมาให้เล่นเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้าเนื้อหาการเรียน อธิบายการเขียนแผนได้อย่างเข้าใจ การเรียนมีความสนุกสนานดีคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น