วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                กิจกรรมในวันนี้คือ การสอบร้องเพลง โดยเป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอนมาในคาบเรียน ซึ่งจะมีทั้งหมด 21 เพลง แต่อาจารย์จะจับฉลากให้ร้องแค่คนละ 1 เพลง
               เกณฑ์การให้คะแนน ทั้งหมด 5 คะแนน- ดูเนื้อเพลงได้ หัก 1 คะแนน
              - ให้เพิ่อนช่วยร้อง หัก 1 คะแนน
              - จับฉลากใหม่ หัก 0.5 คะแนน



รายชื่อเพลง
 1. เพลงฝึกกายบริหาร      2.  เพลงผลไม้ 
  3.  เพลงกินผักกัน             4.  เพลงดอกไม้ 
       5.  เพลงจ้ำจี้ดอกไม้         6.  เพลงดวงอาทิตย์
  7.  เพลงดวงจันทร์            8.  เพลงดอกมะลิ
     9. เพลง กุหลาบ                10.  เพลงนกเขาขัน
     11.  เพลงรำวงดอกมะลิ    12.  เพลงนกกระจิบ
          13.  เพลงเที่ยวท้องนา      14. เพลง แม่ไก่ออกไข่
         15. เพลงลูกแมวสิบตัว       16.  เพลงลุงมาชาวนา
17.  เพลงนม                      18.  เพลงอาบน้ำ
   19.  เพลงแปรงฟัน             20. เพลง พี่น้องกัน
  21.  เพลงมาโรงเรียน




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนทุกเพลงไปใช้ในการเก็บเด็ก หรือใช้ในการสอนหน่วยต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างดี

การประเมิน
ตนเอง : มีการเตรียมตัวซ้อมร้องเพลงมาล่วงหน้าก่อนสอบเป็นอย่างดี เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน : เตรียมความพร้อมสำหรับการสอบร้องเพลงมา ตั้งใจฟังเพื่อนร้องเพลง ให้ความร่วมมืออย่างดี ทำให้ห้องสนุกสนาน
อาจารย์ : มีการเคาะจังหวะให้ขณะร้องเพลง ใจดีให้โอกาสนักศึกษาในเวลาร้องเพลงร้องเพี้ยนไปหน่อยอาจารย์ก็ไม่ว่า ทำให้สนุกสนาน

สุดท้ายนี้ไม่ว่าหนูจะได้เรียนกับอาจารย์อีกหรือไม่ก็ตามหนูสัญญาว่าจะไม่ลืมอาจารย์ผู้น่ารักคนนี้ สัญญาจะจดจำคำสอนทุกคำสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคตเพื่อนเป็นตรูที่ดีของเด็กๆและเป็นแบบอย่างที่ดีค่ะ ขอบคุณช่วงเวลาดีๆ ที่ทำให้เราได้มาพบเจอ ขอบคุณทุกคำสอนและความหวังดีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ขอบคุณเสียงหัวเราะและรอยยิ้มในห้องเรียนที่แสนจะอบอุ่นที่สุดของคุณคนนี้นะคะ รักและเคารพอาจารย์เบียร์ค่ะ 

บันทึกอนุทินครั้งที่13



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือนเมษายน พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
เรื่องที่เรียนในวันนี้ โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

แผน IEP คือ แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็กแต่ละคน ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล ซึ่งมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และอาจมีหมอหรือผู้ช่วยสอนร่วมด้วย

การเขียนแผน IEP เป็นแผนของเด็ก 1 คน ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นเป็นอย่างดี รู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร รู้นิสัย จุดเด่น จุดด้อย สภาพครอบครัว ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลหรือไม่ รู้ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้ และไม่สามารถทำอะไรได้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ คอยสังเกตและบันทึกผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- เด็กจำเป็นต้องได้รับการบริการพิเศษอะไรบ้าง
- ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก เด็กได้รู้ความสามารถของตนเอง มีโอกาสได้พัฒนาตามศักยภาพของตนเอง ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

ประโยชน์ต่อครู เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก สามารถเลือสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการของเด็กเปลี่ยนแปลงไป เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก สามารถตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ รู้ว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ฏ มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
             1. การรวบรวมข้อมูล ทางการแพทย์ ทางการประเมินด้านต่าง ๆ และจากการบันทึกของผู้ปครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

             2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
             จุดมุ่งหมายระยะยาว ต้องกำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น น้องช่วยเหลือตนเองได้
             จุดมุ่งหมายระยะสั้น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก ให้เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ กำหนดให้แคบลง และเป็นเชิงพฤติกรรมเท่านั้น กำหนดขึ้นเพื่อสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และพฤติกรรมนั้นต้องดีแค่ไหน
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- ได้รับการรับรองแผนการศึกษารายบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

            3. การใช้แผน ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้ นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แยกย่อยขั้นตอนในการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการสอน มรการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก

           4. การประเมินผล โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน เกณฑ์การวัดผล ซึ่งการประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

           เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนการเขียนแผน IEP และให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทดลองช่วยกันเขียน IEP กลุ่มละ 1 แผน


บรรยากาศภายในห้องเรียน




การจัดทำแผน IEP






  ท้ายคาบอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อช่วยกันเขียนแผน IEP


กลุ่มของดิฉัน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาหลักการเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP ไปใช้สำหรับการเขียนแผนเพื่อเด็กพิเศษเป็นรายบุคคลในอนาคตได้ รู้ว่าควรจะต้องเขียนแผนไปในลักษณะใด และควรแก้ไขพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเฉพาะด้านอย่างไร

การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกเพิ่มเติมตามอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างดี เมื่อสงสัยต้องส่วนใดก็ถามอาจารย์ คุยกันเสียงดังบ้าง แต่ก็ตั้งใจเรียนดี
อาจารย์ : มีเกมมาให้เล่นเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้าเนื้อหาการเรียน อธิบายการเขียนแผนได้อย่างเข้าใจ การเรียนมีความสนุกสนานดีคะ

บันทึกอนุทินครั้งที่12



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 9 เดือนเมษายน พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
เรื่องที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง เกิดความรู้สึกว่า "ฉันทำได้" พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ และทดลอง


ช่วงความสนใจ จะต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น ๆ สามารถจดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงหนึ่งได้นานพอสมควร ซึ่งเด็กปกติจะมีช่วงความสนใจเป็นเวลาประมาณ 10-15 นาที แต่เด็กพิเศษช่วงความสนใจจะสั้นมาก การเล่านิทานเรื่องที่สั้น ๆ แล้วให้เด็กนั่งฟังจนจบได้ จะทำให้เขารู้สึกว่าเขาทำได้ และค่อยพัฒนาเป็นนิทานเรื่องที่ยาวขึ้นเรื่อย ๆ


การเลียนแบบ สำหรับเด็กพิเศษไม่ควรปล่อยให้เขาทำกิจกรรมต่าง ๆ คนเดียว ควรให้เด็กได้ทำกิจกรรมไปพร้อม ๆ กับเด็กปกติ เพื่อให้เด็กได้เลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อน


การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ ครูควรเรียกชื่อเด็กก่อนเสมอ และเมื่อให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติทำกิจกรรมร่วมกัน ครูควรเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนเด็กปกติ เพื่อให้เด็กพิเศษได้ตั้งสติในการฟังคำสั่ง ควรสั่งทีละคำสั่ง เป็นคำสั่งที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้คำพูดให้เด็กได้ยินชัดเจน ให้เด็กเข้าใจคำศัพท์ของครู


การรับรู้ การเคลื่อนไหว
เด็กจะได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส ได้กลิ่น แล้วส่งผลถึงการตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
โดยให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ทำงานศิลปะ การเล่นมุมบ้าน การให้เด็กฝึกใช้กรรไกร ซึ่งกรรไกรที่เหมาะกับเด็กคือกรรไกรหัวมน การสอนเด็กพิเศษตัดกระดาษควรใช้กระดาษสั้น ๆ ให้ตัดทีเดียวขาด แล้วค่อยเพิ่มความยาวของกระดาษขึ้นเรื่อย ๆ


ความจำ จากการสนทนากับเด็กในเรื่องต่าง ๆ เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร การจำตัวละครในนิทาน จำชื่อครู เพื่อนได้ เป็นต้น

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ โดยจัดกลุ่มเด็ก เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น ๆ ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจน ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย บันทึกการทำกิจกรรมของเด็ก มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง ครูพูดในทางที่ดีเสมอ จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว และทำบทเรียนให้สนุก

วิธีการแจกงาน ควรให้เด็กเดินมาหยิบด้วยตนเอง เพื่อฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง แต่ถ้าไม่อยากให้ห้องเกิดความวุ่นวาย ให้ใช้วิธีส่งต่อกัน

บรรยากาศภายในห้องเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับหลักพื้นฐานการเรียนและทักษะคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของเด็กพิเศษ ไปปรับใช้กับการสอนในอนาคตได้ และได้รู้ว่าเด็กพิเศษมีความต้องการในส่วนใดมากกว่าเด็กปกติ และควรส่งเสริมเด็กในลักษณะใด

การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกเพิ่มเติมตามอาจารย์สอน
เพื่อน : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีคุยกันบ้างเล็กน้อย
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจชัดเจน มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ต่าง ๆประกอบการเรียนทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อชอบค่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่11


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 26 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


        ในวันนี้อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบหลังจากที่ได้เรียนมาทั้งหมด เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหา ความรู้ โดยในแบบทดสอบนั้น ก็จะคล้ายๆจากที่อาจารย์เคยสอน และในการสอนแต่ละคาบอาจารย์ก็จะยกตัวอย่างให้นักศึกษาฟังในทุกคาบเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น ถ้าจำเนื้อหาตัวอย่างที่อาจารย์เคยอธิบายให้ฟัง เราก็จะสามารถทำข้อสอบในครั้งนี้ได้ โดยข้อสอบก็จะเกี่ยวกับขั้นตอนการลำดับงาน การปรับพฤติกรรมของเด็ก เป็นต้น

บรรยากาศภายในห้อง




สิ่งที่นำไปพัฒนา
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการสอบในครั้งนี้ ไปปรับใช้ในการปรับพฤติกรรมของเด็ก และสามารถลำดับขั้นตอนการย่อยงาน ได้ถูกตามลำดับขั้นทีวางไว้ค่ะ

การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจทำข้อสอบ มีลืมเนื้อหาที่เรียนไปบ้าง แต่ก็สามารถทำออกมาได้อย่างเต็มที่แล้วค่ะ
เพื่อน : ตั้งใจทำข้อสอบกันดีค่ะ มีคุยกันบ้างเล็กน้อยค่ะ แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา ไม่กำหนดเลาไม่กดดันนักศึกษาขณะทำข้อสอบ ทำให้บรรยากาศในห้องสบายๆๆค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่10



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 19 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง การให้เด็กได้เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระ ทำกิจวัตรต่าง ๆในชีวิตประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด เด็กสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง


การสร้างความอิสระ ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ได้ทำงานตามความสามารถ การเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือบุคคลที่โตกว่า


ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและได้เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี


หัดให้เด็กทำเอง ไม่ช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น ห้ามพูดกับเด็กว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" เด็ดขาด


จะช่วยเมื่อไหร่ เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เบื่อ ไม่สบาย หลายครั้งที่เด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว ให้ความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ ช่วยเด็กในช่วงทำกิจกรรม


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยให้มากที่สุด เรียงตามลำดับขั้น (การย่อยงาน)


สรุป ครูต้องพยายามให้เด็ฏทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ย่อยงานแต่ละอย่างออกเป็นขั้น ๆ ความสำเร็จขั้นเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหมด และช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง พึ่งตนเองได้ และรู้สึกเป็นอิสระ

บรรยากาศในห้องเรียน



                ท้ายคาบอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนทำกิจกรรมหลังเรียน คือกิจกรรมศิลปะ โดยใช้สีเทียนทำเป็นวงกลม วงละสี ตามจินตนาการว่าจะทำกี่วงก็ได้

                หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรม โดยแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ระบายสีเป็นวงกลมใหญ่ขึ้นเรื่อยตามความพอใจ และใช้สีได้ตามความชอบ เมื่อระบายเสร็จก็ให้ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามที่ได้ระบายไว้ จากนั้นอาจารย์ก็นำต้นไม้มาติดที่กระดานหน้าห้อง แล้วให้นักศึกษานำวงกลมของตนเองออกมาติดที่ต้นไม้ทีละคน
                กิจกรรมนี้เป็นจะช่วยให้ครูทราบว่าเด็กแต่ละคนนั้น มีภาวะจิตใจเป็นแบบใดจากการระบายสีภาพวงกลมของตนเอง และยังได้รู้ว่าการอยู่ร่วมกันภายในห้องเรียนนั้นมีลักษณะเป็นแบบใด จากการนำภาพวงกลมของตนเองออกไปติดที่ต้นไม้หน้าชั้น ซึ่งกลุ่งของฉันนั้นภาพที่ออกมาทำให้รู้ว่าเราอยู่กันด้วยความเกรงใจซึ่งกันและกัน

ผลงานของฉัน





ผลงานของทุกคนในห้อง



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาหลักการสอนที่ช่วยให้เด็กสามารถช่วยตนเองได้อย่างเต็มที่ไปปรับใช้ได้ ทั้งในเด็กปกติและพิเศษ โดยไม่คอยให้ความช่วยเหลือเด็กมากจนเกินไป และคอยให้การสนับสนุนหากเด็กสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ และยังสามารถนำเอากิจกรรมการระบายสีวงกลมที่อาจารย์ให้ทำไปใช้กับการทำกิจกรรมของเด็กได้ค่ะ


การประเมิน
ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกตามอาจารย์สอน ตั้งใจเรียน ใก้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียนและการทำกิจกรรม มีคุยกันเสียงบางเล็กน้อย
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหา และยกตัวอย่างเหตุการณ์ได้อย่างเข้าใจ สอนสนุก ไม่เครียดค่ะ ดี๊ดี อิอิ


บันทึกอนุทินครั้งที่9



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

"การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"

              ทักษะภาษา

              การวัดความสามารถทางภาษา

          - เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพุดไหม
          - ตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดด้วยไหม
          - ถามหาสิ่งต่างๆไหม
          - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
          - ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

            การออกเสียงผิดพูดไม่ชัด
         - การพูดตกหล่อน
         - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
         - ติดอ่าง


            การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

         - ไม่สนการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
         - ห้ามบอกเด็กว่า"พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
         - อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
         - อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก


           ทักษะพื้นฐานทางภาษา

         - ทักษะการรับรู้ภาษา
         - การแสดงออกทางภาษา
         - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
         - การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
         - ภาษาไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
         - ให้เวลาเด็กได้พูด
         - คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
         - เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
         - เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว
         - ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
         - กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
         - เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
         - ใช้คำถามปลายเปิด
            เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
          - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

บรรยากาศภายในห้องเรียน
       หลังจากเสร็จการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมศิลปะ บำบัดเด็กพิเศษ โดยการให้นักศึกษาจับคู่กัน ให้ฟังเพลงและขีดเส้นตรงไปตามเสียงเพลง พอเพลงจบให้แต่ละคู่ระบายสีช่องที่เป็นช่องปิดตายทุกช่อง


         ต่อมาอาจารย์ให้ทำกิจกรรม ศิลปะบำบัด โดยให้จับคู่ แจกกระดาษคู่ละ 1 แผ่น สีคนละ 1 แท่ง แล้วลากเส้นไปตามจังหวะเสียงเพลงและห้ามยกสีขึ้นจนกว่าเพลงจะจบ หลังจากนั้นให้ช่วยกันระบายสีลงในช่องที่ถูกปิดตาย ด้วยสีสรรค์ตามจินตนาการ กิจกรรมนี้จะช่วยให้ครูผู้สอนรู้ว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีภาวะความคิดเป็นแบบใด


                                                           อุปกรณ์มีสีเทียน กระดาษ




ลากเส้นตรงไปมา




ระบายสีทับช่องปิดตาย




งานคู่ของฉัน


                                                       



ผลงานของเพื่อนในห้อง


  



การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำเอาหลักการการส่งเสริมทักษะด้านภาษาของเด็กไปปรับใช้กับการสอนในอนาคตได้ เพื่อเรียนรู้ว่าเด็กพิเศษและเด็กปกตินั้น ควรส่งเสริมทางด้านภาษาในรูปแบบใด และยังสามารถนำเอากิจกรรมศิลปะบำบัดที่อาจารย์ให้ทำไปใช้กับเด็กได้จริง เพื่อให้รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีนิสัยแบบไหน

การประเมิน
ตนเอง : แต่งกายสุภาพ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และจดบันทึกตาม
เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี มีคุยกัยเสียงดังบ้าง พูดคุยตอบโต้กับอาจารย์ดี
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจชัดเจน ยกตัวอย่างสถานการณ์จริง เพื่อความเข้าใจและสอนหลักในการแก้ปัญหาหากพบเจอสถานการณ์นั้นๆสามารถเอาไปปรับใช้ในอนาตได้ค่ะ


วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันพฤหัสบดีที่ 5  เดือนมีนาคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมก่อนลงเรียนเนื้อหา กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมให้ วาดรูปมือตัวเอง ให้เหมือนที่สุด โดยเริ่มกิจกรรมด้วยการสวมถุงมือข้างที่ไม่ถนัด จากนั้นให้วาดรูปมือข้างที่สวมถุงมือให้เหมือนที่สุดเท่าที่จะวาดได้ โดยห้ามเปิดถุงมือดู พอวาดเสร็จก็ถอดถุงมือแล้วนำมาเปรียบเทียบกับรูปที่วาดว่าเหมือนไหม แล้วอาจารย์เดินมาตรวจดูรูปของทุกคน




เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
                 
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม

          อบรมระยะสั้น , สัมมนา และสื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
          เด็กมักจะคล้ายลึงกันมากกว่าแตกต่าง ต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ รู้จักเด็กแต่ละคน ว่าเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร มองเด็กให้เป็นเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
           การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็น ความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
           วุฒิภาวะ แรงจูงใจ และโอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
            ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน และครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
            ต้องมีลักษณะง่ายๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ และของเล่นในห้องเรียนรวมต้องไม่แบ่งแยกเพศเด็ก
ตารางประจำวัน
             เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้ กิจกรรมแรกของวันมักเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหว >เสริมประสบการณ์ >ศิลปะ>กลางแจ้ง>กิจกรรมตามมุม บ่าย กิจกรรมเล่านิทาน เล่นเกมการศึกษา เพื่อรอเวลากลับบ้าน


ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น

             ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก ตอบสนองเป้าหมายเด็ก ต้องตอบสนองสิงที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก เช่นเรื่องจับดินสอ ต้องสอนให้น้องจับปากกา จับสีให้แน่น จำดินสอให้มั่น เป้าหมายหลักครู อันไหนสำคัญสุดแก้ส่วนนั้นก่อน ต้องมีการเรียงลำดับความสำคัญบอกเด็กว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำและปรับพฤติกรรม ตั้งเป้าหมายอะไรไว้ ให้บรรลุแค่ส่วนนั้นก่อน
การใช้สหวิทยาการ
             ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน ต้องรวมกิจกรรมเข้ากับการบำบัด
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
  เด็กทุกคนสอนได้

           ส่วนมากเด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้เสริมแรง
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
            ต้องตอบสนองด้วยวาจา ด้วยการชม พยักหน้ารับยิ้ม ฟัง สัมผัสทางกายด้วยการกอด หอม และให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงแสริมในเด็กปฐมวัย
             ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ครูให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
            ใช้การย่อยงาน ตามลำดับความยากง่ายของงาน และการบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตาามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม  สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย สอนจากง่ายไปยาก ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งชิ้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น" ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
             จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรม การเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง   พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนหลังมาจากข้างหลัง ต้องสอนผสมกัน
โดยการลงโทษเด็ก เอาของเล่นออกจากเด็ก หรือ เอาเด็กออกจากของเล่น
การลดหรือหยุดแรงเสริม
              ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก เอาเด็กออกจากของเล่น 


 
การนำไปใช้
              สามารถนำความรับที่ได้รับในวันนี้ทั้งกิจกรรม และเนื้อหาในห้องเรียนสามารถนำไปปรัยุกย์ใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยในอนาคตได้


*การประเมิน
             *ตัวเอง แต่งกายเรียบร้อยพร้อมเข้าเรียน ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายและทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน
             *เพื่อน. ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายในห้องเรียน มีคุยกันบ้างเป็นบางครั้ง
             * อาจารย์. อาจารย์มีความเป็นกันกับนักศึกษาทุกคน พาทำกิจกรรมก่อนลงเนื้อหา อย่างสนุกสนานทำให้เพลิดเพลินและผ่อนคลาย และอธิบายเนื้อหาในห้องเรียนอย่างเข้าใจแล้วจนเห็นภาพทำให้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น หนูมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ